วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ผ้าไหมสุรินทร์

ผ้าไหมสุรินทร์ (Surin Thai Silk)

ประวัติความเป็นมา

จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าไหมมานานและได้สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมานานจนเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่น่สนใจยิ่งหากศึกษาอย่างลึกซึ่งแล้ว จะค้นพบเหตุผลหลายประการที่สนับสนุนว่า จังหวัดสุรินทร์มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองในเรื่องผ้าไหม ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อการผลิตและการทอ ไม่ว่าจะเป็นลวดลายของผ้าไหม การผลิตเส้นไหมน้อย และกรรมวิธีการทอ
จังหวัดสุรินทร์นิยมนำเส้นไหมขั้นหนึ่งหรือไหมน้อย (ภาษาเขมร เรียก “โซกซัก”) มาใช้ในการทอผ้า ไหมน้อยจะมีลักษณะเป็นผ้าไหมเส้นเล็ก เรียบ นิ่ม เวลาสวมใส่จะรู้สึกเย็นสบาย นอกจากนี้การทอผ้าไหมของจังหวัดสุรินทร์ ยังมีกรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อน และเป็นกรรมวิธีที่ยาก ซึ่งต้องใช้ความสามารถและความชำนาญจริง เช่น การทอผ้ามัดหมี่พร้อมยกดอกไปในตัว ซึ่งทำให้ผ้าไหมที่ได้เป็นผ้าเนื้อแน่นมีคุณค่า มีการทอที่เดียวใบประเทศไทย จนเป็นที่สนพระทัยและเป็นที่ชื่นชอบของสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ทรงรับสั่งว่า ใส่แล้วเย็นสบาย อีกทั้งยังใช้ฝีมือในการทออีกด้วย
ลักษณะเด่นของผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์
1. มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกัมพูชา และลวดลายที่บรรจงประดิษฐ์ขึ้นล้วนมีที่มาและมีความหมายอันเป็นมงคล
2. นิยมใช้ไหมน้อยในการทอ ซึ่งไหมน้อยคือไหมที่สาวมาจากเส้นใยภายในรังไหม มีลักษณะนุ่ม เรียบ เงางาม
3. นิยมใช้สีธรรมชาติในการทอ ทำให้มีสีไม่ฉูดฉาด มีสีสันที่มีลักษณะเฉพาะ คือ สีจะออกโทนสีขรึม เช่นน้ำตาล แดง เขียว ดำ เหลือง อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมจากเปลือกไม้ 4. ฝีมือการทอ จะทอแน่นมีความละเอียดอ่อนในการทอและประณีต รู้จักผสมผสานลวดลายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แสดงถึงศิลปที่สวยงามกว่าปกติ5. แต่เดิมนั้นการทอผ้าไหมของชาวบ้านทำเพื่อไว้ใช้เอง และสวมใส่ในงานทำบุญและงานพิธีต่างๆ
การทอจะทำหลังจากสิ้นสุดฤดูกาลทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลัก มิได้มีการทอเพื่อจำหน่ายแต่อย่างใด จนมีคำกล่าวทั่วไปว่า “พอหมดหน้านา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก
แหล่งผลิตผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์ จึงมีเกือบทุกหมู่บ้าน ผู้สนใจสามารถไปชมกรรมวิธีการเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมจากแหล่งต่าง ๆ ได้มากมายหลายแห่ง ลายผ้าไหมของชาวสุรินทร์ มีผู้จัดประเภทตามลักษณะการทอได้ 6 ประเภท คือ
 
ผ้าไหมมัดหมี่
1. มัดหมี่โฮล หรือ จองโฮล (จองเป็นภาษาเขมร หมายถึง ผูกหรือมัดหรือ ซัมป็วตโฮล เป็นหนึ่งในผ้าไหมมัดหมี่ของเมืองสุรินทร์ มัดหมี่แม่ลายโฮล ถือเป็นแม่ลายหลักของผ้ามัดหมี่สุรินทร์ที่มีกรรมวิธีการมัดย้อมด้วยวิธีเฉพาะ ไม่เหมือนที่ใดๆ ความโดดเด่นของการมัดย้อมแบบจองโฮล คือในการมัดย้อมแบบเดียวนี้ สามารถทอได้ 2 ลาย คือ โฮลผู้หญิง (โฮลแสร็ยหรือผ้าโฮลธรรมดา และสามารถทอเป็นผ้าโฮลผู้ชาย (โฮลเปราะฮ์ไว้นุ่งในงานพิธีต่างๆ
ผ้าโฮล ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทผ้าไหม ในงาน “มหกรรมผ้าไทย เทิดไท้องค์ราชินี” เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2545  ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขาบางกะปิ กรุงเทพฯ ซึ่งจัดโดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
2มัดหมี่อัมปรม หรือ จองกรา เป็นการมัดหมี่ทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน ซึ่งมีปรากฏที่จังหวัดสุรินทร์แห่งเดียวในประเทศไทย การมัดหมี่อัมปรมนี้จะทอให้ส่วนที่มัดเป็น “กราปะ” คือ จุดปะขาวของเส้นยืน มาชนกับจุดปะขาวของเส้นพุ่ง ให้เป็นเครื่องหมายบวกบนสีพื้น เช่น การทอบนพื้นสีแดงซึ่งย้อมด้วยครั่ง ก็เรียกว่า อัมปรมครั่ง การทอบนพื้นสีม่วง ก็เรียกว่า อัมปรมปะกากะออม
จังหวัดสุรินทร์ได้ตัดเสื้อผ้าไหมมัดหมี่อัมปรมให้คณะรัฐมนตรีในการเดินทางมาประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่  จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 10 –11 พฤศจิกายน 2544

3. มัดหมี่ลายต่างๆ หรือ จองซิน เป็นมัดหมี่ที่เหมือนจังหวัดอื่นๆ ทั่วๆ ไป มีหลายลาย แบ่งได้ดังนี้
3.1 มัดหมี่ลายธรรมดา เช่น ลายหมี่ข้อ หมี่คั่น หมี่โคม ซึ่งจะพบมากที่ บ้านจารพัต อำเภอศีขรภูมิบ้านสดอ บ้านนาโพธิ์ บ้านเขวาสินรินทร์ ตำบลเขวาสินรินทร์ กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ บ้านสวาย บ้านนาแห้ว ตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์
3.2 มัดหมี่ลายกนก เช่น ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายสับปะรด ลายพระตะบอง ลายก้านแย่ง ลายพนมเปญ ลายดอกมะเขือ ส่วนมากจะพบที่ บ้านสวาย ตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ บ้านอู่โลก ตำบลอู่โลก อำเภอลำดวน

3.3 มัดหมี่ลายรูปสัตว์ ต้นไม้ และลายผสมอื่นๆ เช่น รูปนก ไก่ ผีเสื้อ ช้าง ม้า นกยูง ปลาหมึก พญานาค นำมาผสมกับลายต้นไม้ดอกไม้ต่างๆ หรือทอลายสัตว์เดี่ยวๆ ตลอดผืน พบมากเกือบทุกหมู่บ้าน
ผ้ายกดอกลายดอกพิกุล หรือ ปกาปกุน ผ้ายกดอกลายนี้จะย้อมเส้นด้ายยืนสีเดียวและอาจใช้สีอื่นคั่นระหว่างดอกก็ได้ การเก็บตะกอ 4 ตะกอ โดยการทอลายขัดเป็นพื้น 2 ตะกอส่วนอีก 2 ตะกอเป็นลวดลายการทอลายนี้จะทอทีละตะกอ จะพบที่บ้านเขวาสินรินทร์เป็นส่วนใหญ่

ที่มา
 
 
 
 
 
 
 
ที่มา: พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com
 
ผ้าทอพื้นเมืองอีสานในจังหวัดสุรินทร์
ที่จังหวัดสุรินทร์มีหมู่บ้านที่ทอผ้าตามประเพณีสืบทอดต่อมาจนปัจจุบันจะเป็นคนไทยเชื้อชายเขมรและไทยอีสาน มีแหล่งสำคัญ 5 แห่ง อยู่ในเขตอำเภอเมือง 4 แห่ง คือที่บ้านเขวาสินรินทร์ หมู่ 2 ตำบลเขวาบ้านสวายและบ้านนาแห้ว หมู่ 7 ตำบลสวาย และบ้านจันรม หมู่ 4 ตำบลตาอ๊อง อำเภอเมือง และในเขตอำเภอศีขรภูมิ 1 แห่ง คือที่บ้านจารพัท หมู่ 1 ตำบลจารพัท จากการสำรวจพบว่ามีการทอผ้าไหมเป็นพื้นเพื่อที่จะใช้ในชีวิตประจำวันและใช้ถวายพระในการทำบุญ ผ้าที่นิยมใช้ถวายพระมักจะทอผ้าขาวเพื่อว่าจะได้นำไปย้อมฝางตัดทำสบง จีวรได้ และช่างนิยมที่จะทอในสิ่งที่ตนเองสนใจและสามารถทำได้ เช่นบางคนทอเฉพาะตัวซิ่น บางคนทอเฉพาะส่วนเชิงหรือตีนซิ่น และผ้าซิ่นพบว่ามีการพัฒนาจากต้นแบบซึ่งน่าจะเป็นผ้าซิ่นไทยที่เรียกว่าอันลุยซีม (ซีม คือ สยาม) ดังนั้นจึงสามารถศึกษารายละเอียดของผลิตภัณฑ์ผ้าในจังหวัดสุรินทร์ได้โดยสรุปดังนี้
การแต่งกาย
ผู้ชาย
การแต่งกายของผู้ชายส่วย ตามแบบเดิมปัจจุบันจะ
แต่งเวลาประกอบพิธีกรรมคือนุ่งโจงกระเบนไหมควบ
คล้องผ้าสไบ คาดไถ้เครื่องราง

ถุงไถ้ ทำด้วยผ้าขิดสำหรับใส่เครื่องราง คาดเอวเวลาไปป่า
ปกติจะนุ่งผ้าโจงกระเบน ซึ่งเป็นผ้าไหมที่เกิดจากการใช้เส้นไหม 3 เส้น มาตีเกลียวควบกันเพื่อให้สีเหลือบมาทอ ผ้านี้เรียกว่าผ้าควบ หรือผ้าไหมหางกระรอก ชาวบ้านเรียกผ้าชนิดนี้ว่า อันลูนกะนิว นอกจากนี้มีผ้าลายบำเพ็ญ กลายเป็นผ้าโฮลเป๊าะ คล้ายผ้าปูมที่มีลายท้องผ้าเป็นลายใหญ่และมีเชิงในตัวเป็นลายแฉกแหลม นางปุ่น เรียงเงิน ได้อธิบายว่าผ้าแบบนี้ ในเวลาทำบุญจะนำมาคลุมบายศรีด้วย ลายโจงแปลว่า ยอดบายศรี ผ้าอื่นๆ มีผ้าโสร่ง จะนุ่งอยู่บ้านและมีผ้าขาวม้า
 ผ้าไหมโฮล(ซิ่นหมี่คั่น)
สำหรับผู้ชายที่เข้าพิธีบวช ขณะอยู่ในสภาวะเป็นนาค จะนุ่งผ้าโฮล แบบนุ่งซิ่นไม่นุ่งโจงกระเบน
ที่บ้านสวาย ตำบลสวาย ผู้ชายจะนุ่งผ้าโจงกระเบนใช้ผ้าหางกระรอกเช่นกัน แต่ไม่มีการทำเชิงที่ขอบผ้าถ้านุ่งผ้าโสร่งจะคาดผ้าขาวม้าหรือกนจะดอ คาดเอว หรือพาดไหล่
ที่บ้านนาแห้ว นางนา ทรายแก้ว อายุ 80 ปี ช่างทอผ้ามีชื่อ มีผ้าโฮลโบราณที่มีชื่อเสียงได้ให้นางเพียร สายแก้ว อายุ 37 ปี บุตรสาวนำออกให้ชม มีผ้ากะนิวหรือผ้าหางกระรอกที่มีขอบเป็นลายกลีบบัว ลายอุบะลายนี้มีลักษณะคล้ายลายสลักที่ขอบผนังปราสาทหิน ลายนี้เรียกว่า รือเจียร์หรือลายขิด นอกจากนี้ เวลาไปงาน สำคัญผู้ชายจะนุ่งผ้าสมปักไหม 3 ตะกอ แต่ไม่มีลายกรวยเชิงที่ขอบ

ที่บ้านจันรม ผู้ชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ผ้าตาหม่อง หรือตาม่วง คาดผ้าขาวม้ายกขิด เรียกว่าสไบรือเจียร์
ที่บ้านจารพัท ผู้ชายนุ่งผ้าสมปรต (ซัมป๊วด) ลายกราซะไน (ลายแห) หรือนุ่งโสร่ง ลายตะแกรง ทอด้วยไหมตีเกลียว
(กะนิว) 3 เส้นควบ เพื่อให้สีเหลือบ (ไหมควบหรือผ้าหางกระรอก) และมีผ้าขาวม้าหรือผ้าไส้สะเอียน เช่นเดียวกับบ้านอื่นๆ ที่มีเชื้อสายเขมร
ผ้าไหมควบหรือผ้าหางกระรอก เขมรเรียก ผ้ากะทิว แต่งขอบผ้าด้านกว้าง
เป็นแนวเผินด้วยลายขิด
 เป็นลายกลีบบัวสลับลายอุบะ ของนางนา ทรายแก้ว 
บ้านนาแห้ว หมู่ 7 ตำบลสวาย อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ผู้หญิง
ผู้หญิงจะมีผ้าซิ่นทอด้วยไหมที่มีลวดลายต่างๆ หลายแบบ ที่นิยมมากคือซิ่นโฮลหรือหมี่คั่นใช้เฉพาะผู้หญิงเท่านั้น เป็นผ้ามัดหมี่ที่เป็นลายทางยาวเล็กๆ เป็นการเลียนแบบลายน้ำไหล (โฮลแปลว่าน้ำไหล) ผ้าซิ่นจะมีการต่อเชิงหรือตีนเพื่อให้ได้ความยาวที่พอเหมาะกับผู้นุ่งเพราะตัวซิ่นนั้นหน้าฟืมที่ทอมีขนาดแคบตีนซิ่นเรียกว่า ผ้าปะโปลทอเป็นลายตะสีบอ๊อดหรือลายคลื่น นอกจากซิ่นแล้วผู้หญิงจะห่มผ้าสไบทอยกดอกลายลูกแก้วมีทั้งสีขาวและสีดำ
ที่บ้านเขวาสินรินทร์ ผู้หญิงมีผ้าซิ่นที่ทอใช้ได้แก่ หมี่โฮลหรือหมี่คั่น ซึ่งมีริ้วเป็นลายเฉียงๆเรียกว่า หนังโป หรือลายคำอ้อย แต่ถ้าเป็นลายริ้วทางยาวๆ ธรรมดา ประเภทหมี่เข็น ที่นี่เรียกว่า อันลุยซีม คือ ผ้าลายริ้วแบบสยาม ซึ่งอันลุยซีมนี้น่าจะเป็นต้นแบบของผ้าโฮลซึ่งชาวเขมรรับไปจากแบบผ้าซิ่นหมี่เข็นหรือหมี่คั่นของไทย เพราะลายผ้าแบบเขมรของชาวบ้านนั้นไม่มีลาย นอกจากลายริ้วเป็นทางยาวๆ และเปลี่ยนลายตามริ้วบ้างเล็กน้อยด้วยการขยายลายทางให้กว้างขึ้นเท่านั้น แต่องค์ประกอบทั่วไปยังอยู่ในแนวยาวนอกจากนี้มีผ้าทอเป็นลายตาตารางเล็กๆ แบบต่างๆ เช่น ผ้าสาคู ผ้าอันปรม ผ้าสมอ ผ้าละเบิกซึ่งยกลายสี่เหลี่ยมเป็นจุดเล็กๆ ลายเก๊าะหรือลายขอ ส่วนผ้ามัดหมี่หรือผ้าโฮลเปร๊าะ มีลายสัตว์เช่นนกยูง ช้าง นาคมักนิยมลายนาค 2 หัว ที่มีหางไขว้ตรงกลาง นอกจากนั้นมีลาย ต้นไม้ ไก่ นก ม้าบินและผีเสื้อ ลายต้นไม้นิยมลายต้นสน

ซิ่นหมี่คั่น ลายใบมะพร้าวของกลุ่มไทยเชื้อสายเขมร 
บ้านนาแห้ว ตำบลสวาย อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ที่บ้านสวาย มีผ้ามัดหมี่ลายฟ้อนซึ่งใช้เป็นผ้าแขวนผนังและทอผ้าขาวถวายพระสงฆ์เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ และเวลามีงานแต่งงานฝ่ายผู้หญิงมักจะใช้ผ้าสีขาว เป็นผ้าสมมาให้ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายชาย ส่วนผ้าที่ใช้นุ่งห่มมีผ้าซิ่นที่ต่อด้วยตีนซิ่นที่เป็นมัดหมี่ เรียกว่าผ้าปะโบล ผ้าสไบนิยมสีขาวทอแบบยกดอกหรือลายลูกแก้ว ซึ่งเรียกว่าโฉนดเรย ไม่นิยมสีดำแต่ก็มี ส่วนผ้ามัดหมี่มีลายโคม (กะเงาะมูย) ลายหงอนไก่แจ้ (กะเมนแจ้)ลายทะเลพับหรือลายคลื่น (ตะลีบ๊อด) และผ้าปะกากันเตรยเป็นลายทางริ้วๆ มีลายขวางๆ คล้ายดอกหญ้าเจ้าชู้ที่ติดผ้า ถ้าเป็นเส้นขวางตัดกันเรียกลายกระแซเอ หรือลายลูกอีกา

ผ้าไหมสีขาวนั้นยังทอไว้สำหรับนำมาห่อศพก่อนนำใส่โลง ผ้าห่อศพนี้ยาวประมาณ 4 เมตร ทำมาแต่โบราณโดยคลุมจากศีรษะพาดไปทางเท้าแล้วพันทบขึ้นด้านหลังมาคลุมศีรษะ และสัปเหร่อจะมัดศพเป็นเปราะๆ ปัจจุบันเลิกใช้ผ้าไหมเพราะราคาแพง จึงใช้ผ้าขาวธรรมดา


ที่บ้านนาแห้ว ตำบลสวาย มีทอทั้งผ้าไหมและผ้าฝ้าย ผ้าซิ่นผู้หญิงนิยมนุ่งผ้าทอไหมหัว (โสดกบาล) เป็นผ้านุ่งตาตาราง และมีผ้าลายลูกแก้ว ทอ 4 เขา เรียกตะกอบูล ห่มสไบเริก ที่เป็นผ้ายกไหมลายลูกแก้วและทอผ้ามัดหมี่ที่เรียกผ้มปูม หรือโฮลเปร๊าะ สำหรับการทอผ้ายกลายลูกแก้วนั้นเรียกว่า เหยียบกูบ มีทอตั้งแต่ 3 -8 ตะกอ

ที่บ้านจันรม หมู่ที่ 4 ตำบลตาอ๊อง ผู้หญิงนุ่งซิ่นทั้งผ้ามัดหมี่ ผ้าอัมปรม ผ้าสมอเอและผ้าประกากันเตรย ผ้ามัดหมี่ที่ใช้ทั่วไป คือ ผ้าหมี่คั่นลายขอ ลายนาค ลายไก่ ลายนกยูง ผ้าตาตาราง มีผ้าอัมปรมซึ่งเป็นผ้าที่เก่าที่สุดของเขมรและนิยมใช้เป็นผ้าสมมาผู้เฒ่าเช่นเดียวกับผ้าสมอเอ อันเป็นผ้าที่ย้อมแล้วนำมาทอไม่ต้องมัดต่างจากมัดหมี่ที่ต้องมัดให้เกิดสีต่างๆตามลายที่กำหนดไว้
ส่วนที่บ้านจารพัทนั้นก็เช่นเดียวกับที่อื่น ที่ผู้หญิงเชื้อสายเขมรนุ่งผ้าซิ่นไหม ที่นี่มีทั้งเลี้ยงไหมเองและซื้อจากพ่อค้าที่นำมาขาย มาทอ ผ้าซิ่นผู้หญิงมีผ้าอัมปรม ผ้าอันลุยซีม (หมี่คั่นแบบสยาม) ผ้าโฮล ซึ่งมีทั้งโฮลริ้วและโฮลเปร๊าะที่คิดลายใหม่คือลายแมงมุมดูคล้ายลายโคม และผ้ากราซะไน ลายแหโบราณ การนุ่งผ้าซิ่นก็เหมือนกับผู้หญิงอีสานโบราณทั่วไปที่นิยมนุ่งซิ่นซ้อน 2 ผืน เพราะผ้าไหมบางจะแนบตัวมากไป จึงนุ่งซ้อนอีกผืนเพื่อให้ผ้านุ่งอยู่ตัว
บ้านดงเย็น ตำบลหนองบัว อำเภอท่าตูม นางถาวร เกลี้ยงอุทธา อายุ 38 ปี ได้ให้ข้อมูลว่าปัจจุบันที่นี่ทอผ้าที่ย้อมสีธรรมชาติแบบใหม่ไม่ทอผ้าซิ่นแบบเก่าแล้ว ที่ทออยู่คือผ้าห่มที่ทอด้วยฝ้าย แบบใช้ 6 ตะกอ ตามแบบโบราณโดยจะทอยกเป็นลายลูกแก้ว และจะทำย้อย (ชายครุย)ทั้ง 2 ชาย ส่วนผ้าทำที่นอน (เสื่อ) เป็นผ้าลายทาง เรียกผ้า 2 เขา และที่เป็นตารางเรียกผ้า 6 เขา
บ้านหนองกลาง หมู่ 11 ตำบลหนองบัว อำเภอท่าตูม ปัจจุบันไม่ทอแบบโบราณแล้ว แต่จะทอผ้าฝ้ายแบบใหม่ ซึ่งเอกชนคือกลุ่มพรรณไม้ มาให้การสนับสนุน และย้อมสีแบบธรรมชาติ
บ้านหนองกลาง หมู่ 1 นางทุมมา สังสาลี อายุ 73 ปี ยังมีผ้าโบราณให้ศึกษาได้ว่าชนกลุ่มไทย-ลาวกลุ่มนี้ทอผ้าซิ่นมัดหมี่ที่แสดงรูปแบบและลวดลายทั้งแบบของไทย ส่วย และเขมร และมีทอผ้าคลุมไหล่และผ้าห่มยกลายลูกแก้ว สำหรับขิดเดิมทอเฉพาะทำหน้าหมอนเท่านั้น ผ้าขิดมีลายต่างๆ เช่นลายดอกจัน ลายขอตุ้ม (อึ่งอ่าง) ลายปราสาท ลายโคมห้า ลายคั่น (ฟันปลา) และลายช้าง
ส่วนผ้าซิ่นมัดหมี่มีลายโคมน้อย ลายกำแพงคั่นทั้งท้องผ้าและตีนซิ่น แบบเขมรมีทอผ้าโฮล ซึ่งเป็นลายทางยาวเล็กๆ และแบบส่วยคือติดปะโบล นอก จากนี้มีลายพระธาตุพนมซึ่งลอกเลียนมาจากลายของสกลนคร
ที่จังหวัดสุรินทร์พบกลุ่มเชื้อสายส่วย 2 แห่ง คือที่บ้านสองห้อง หมู่ 5 ตำบลหัวงัว อำเภอสนมและที่บ้านตากลาง หมู่ 13 ตำบลกะโพ อำเภอท่าตูม ซึ่งที่บ้านสองห้อง ทอผ้าใช้เช่นเดียวกับแหล่งอื่น โดยมีทั้งการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เมื่อเวลาย้อมไหม กล่าวว่ามีการถือเคล็ดในการย้อมสีจากเปลือกไม้ โดยเฉพาะ การย้อมครามกับผ้าไหม ซึ่งจะติดดีมาก แปลกจากที่อื่นที่ผ้าไหมจะย้อมครามไม่ค่อยติด ครามนั้นปกติจะย้อมติดดีกับผ้าฝ้าย สำหรับที่บ้านสองห้องสามารถย้อมครามในผ้าไหมได้ดีด้วยมีเคล็ดที่ว่า เวลาย้อมห้ามพระและสตรีรอบเดือนเข้ามาในบริเวณบ้านที่กำลังทำการย้อมผ้าอยู่ และห้ามไม่ให้คนที่กำลังย้อมผ้าพูดคุยกับใครทั้งสิ้น
กลุ่มไทยส่วนนิยมนำผ้าไปทำบุญไว้กับพระสงฆ์ เพื่อให้ใว้ใช้ในงานอื่นๆ ได้ด้วย เช่นให้คนที่จะแต่งงานที่มีผ้าไม่พอเป็นผ้าสมมา ก็สามารถขอกับพระได้โดยมาช่วยทำบุญเป็นปัจจัยไว้
ผู้ชาย นุ่งผ้าโสร่ง ผ้านี้ใช้ผ้าไหมกะเนียว หรือไหมควบ
หรือผ้าหางกระรอก มีผ้าสไบคาดเอว และเสื้อคอกลมผ่าหน้า
ส่วนผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่น (ละลูน) ที่ต่อหัวซิ่น (ต่องโผะ) เป็นผ้าขิดลายทางเรียกเด็ดอะไล ผ้าซิ่นที่ไม่ต่อหัวซิ่นก็มีเพราะฟืมที่ทอกว้างพอ ผ้านี้ คือผ้ากะเนียง แม้ว่าโดยปกติซิ่นของผู้หญิงส่วยจะต่อหัวซิ่นเสมอและเมื่อผู้หญิงแต่งงานแล้วซิ่นก็จะเพิ่มความยาวโดยการต่อตีนซิ่นเป็นเครื่องแสดงด้วย นอกเหนือจากนี้ยังมีผ้าซิ่นลายตารางด้วยเป็นลักษณะเดียวกับกลุ่มคนไทยเขมรนั่นคือ ผ้าอัมปรม มีผ้าลายริ้ว คือ หมี่คั่น หรือ ลายมะไหม่ และลายหมี่ขอ หรือด่านตังเกียบ สำหรับตีนซิ่นหรือยิมมะบูลที่ต่อนั้นจะทอเป็นลายเอื้อโคม ส่วนผ้าคาดอกหรือสไบก็ใช้ผ้ายกลายลูกแก้วคาดดอกแทนสวนเสื้อ ผ้าสไบมีทั้งสีขาว สีแดง ซึ่งย้อมด้วยครั่ง และสีดำที่ย้อมมะเกลือ


ซิ่นหมี่คั่นต่อตีนลายต่างๆ ของกลุ่มส่วยที่บ้านตากลาง
หมู่ 13 ตำบลกะโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ตีนซิ่นนิยมลายหมี่เอื้อและลายขอส่วยเรียก ด่านตังเกียบ
สำหรับการแต่งกายของผู้ชายเชื้อสายส่วยที่นี่ นุ่งผ้าโสร่ง หรือนุ่งกางเกงเอวรูดขายาวใต้เข่า และสวมเสื้อมีผ้าสไบลายไส้สะเอียนพาดไหล่ ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ สวมเสื้อน้อย คือเสื้อตัวสั้นผ่าหน้าติดกระดุม คอกลมแขนกุด ถ้าไปทำงานนอกบ้านสวมเสื้อแขนยาว
อย่างไรก็ดีที่บ้านตากลาง หมู่ 13 ตำบลกะโพ อำเภอท่าตูมนั้น นางมา จงใจงามอายุ 44 ปี ได้ให้ข้อมูลว่า มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมสืบทอดมานาน สามารถทอได้ดีทั้งผ้ามัดหมี่และผ้าขิด การทอผ้า เรียกว่าละลูน ผ้าไหมของชาวส่วยชอบทอผ้า 3 ตะกอขึ้นไป ถุงผ้าขิดนิยมทอขึ้นเพื่อให้ผู้ชายใส่เครื่องรางคาดเอว เวลาออกจากบ้านไปคล้องช้าง เวลาคนจัดงานศพก็ใช้ผ้าแต่งให้กับคนตาย และมีผ้าคลุมศพ แต่เวลาเผาจะเอาผ้าออกเผาแยก เพราะจะได้เผาศพรวดเร็วขึ้น

ผู้ชายนุ่งผ้าโสร่ง หรือ ไหมควบ

ประวัติเมืองสุรินทร์


 

ประวัติเมืองสุรินทร์




        สุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเป็นมายาวนาน จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ข้อมูลในพงศาวดาร  เรื่องเล่าตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา  เป็นที่อยู่ของชนหลายเผ่าพันธุ์ทั้ง ไทย  เขมร ลาว กวยหรือกูย  ทำให้มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย  


        ตัวเมืองเมืองสุรินทร์   พื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์มีมนุษย์เข้ามาตั้งชุมชนแล้วตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย  ลักษณะชุมชนเป็นเนินดินมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ  ขนาดกว้างประมาณ  1,000  เมตร  ยาวประมาณ  1,300  เมตร   เป็นลักษณะเฉพาะของแผนผังเมืองโบราณตั้งแต่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นซึ่งพบทั่วไปในเขตภาคอีสานตอนล่าง กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองสุรินทร์ในราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่ 95  ตอนที่  98  ลงวันที่  19  กันยายน  2521 
        จากการสำรวจของหน่วยศิลปากรที่  6   ในปี พ.ศ. 2534  พบว่าตัวเมืองยังมีสภาพที่สมบูรณ์เห็นแนวคูน้ำ-คันดินแบ่งออกเป็น  2  ชั้น  คือ  เมืองชั้นในและเมืองชั้นนอก
        เมืองชั้นใน  มีลักษณะเป็นรูปวงรีแบบสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น  มีขนาดกว้างประมาณ  1,000  เมตร  ยาวประมาณ  1,300  เมตร  สภาพคูเมืองค่อนข้างสมบูรณ์  มีบางส่วนเท่านั้นที่ขาดหายไป
เมืองชั้นนอก  มีลักษณะแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบชุมชนขอมโบราณ มีคูน้ำ  2  ชั้น  คันดิน  1  ชั้นล้อมรอบ  ขนาดกว้าง  1,500  เมตร  ยาว  2,500  เมตร  สภาพคูเมืองค่อนข้างสมบูรณ์   ยกเว้นด้านทิศใต้
        จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น  จะเห็นได้ว่า  ตัวเมืองสุรินทร์ในปัจจุบันนี้  เคยเป็นบ้านเมืองมาแล้วตั้งแต่สมัยโบราณกาล  ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองสุรินทร์ในอดีต  ตลอดจนถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของชาวสุรินทร์ได้เป็นอย่างดี  ดังนั้น  จึงเป็นหน้าที่อย่างสำคัญที่คนสุรินทร์ในปัจจุบันจะช่วยกันรักษามรดกอันทรงคุณค่าชิ้นนี้ไว้ตราบชั่วลูกหลาน  ด้วยการไม่บุกรุกทำลายคูน้ำคันดินของเมืองโบราณสุรินทร์ 


สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดสุรินทร์


จากการศึกษาวิจัยการและสำรวจพบแหล่งโบราณคดีในจังหวัดสุรินทร์  กว่า 59 แห่ง ส่วนมากเป็นชุมชนโบราณที่มีคูน้ำ-คันดินล้อมรอบ ได้แก่
 แหล่งโบราณคดีบ้านโนนสวรรค์ ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี  หมู่บ้านเป็นเนินสูงเกือบ เมตร  พบโบราณวัตถุได้แก่ เศษภาชนะดินเผาแบบต่างๆ รวมทั้งภาชนะเคลือบสีน้ำตาลแบบขอม และพบภาชนะที่ใช้บรรจุมีลักษณะเป็นภาชนะก้นมนขนาดใหญ่ ที่ใช้ในการฝังศพครั้งที่สองของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์  ที่มีอายุอยู่ในราว 2,000-1,500 ปี มาแล้ว พบมากไปตลอดลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลางแถบจังหวัดบุรีรัมย์  สุรินทร์  มหาสารคาม  ร้อยเอ็ด เป็นลักษณะของกลุ่มวัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้   ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
 แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นที่ตั้งของปราสาททนง เป็นโบราณสถานขอมชึ่งกรมศิลปากรมีโครงการขุดแต่ง ในปี พ..2536 และได้ขุดตรวจชั้นดินทางด้านหลังของโบราณสถาน พบหลักฐานสำคัญแสดงให้เห็นถึงการอยุ่อาศัยของมนุษย์มาก่อนจะสร้างปราสาท คือ โครงกระดูกมนุษย์เพศชาย อายุประมาณ 35- 40 ปี ปัจจุบันได้นำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
นอกจากแหล่งโบราณคดีทั้งสองแหล่งนี้แล้ว ยังไม่มีการขุดค้นตามหลักวิชาการในอีกกว่า 50 แห่ง อาศัยเพียงเทียบเคียงค่าอายุกับแหล่งอื่น ๆ พอสรุปได้ว่ามีอายุอยู่ในราว 2,000-1,500 ปีมาแล้ว 


สมัยประวัติศาสตร์ในจังหวัดสุรินทร์


          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบหลักฐานชุมชนสมัยทวารวดีทั้งภูมิภาค  เมืองโบราณที่สำคัญ เช่น เมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์  เมืองนครจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เมืองกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เมืองโบราณบ้านคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ เมืองเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมทวารวดี นั่นคือ การนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งก่อให้เกิดงานศิลปกรรมที่เนื่องในศาสนา  ตามเมืองหรือชุมชนโบราณสมัยทวารวดีจะพบว่ามีการสร้างสิ่งก่อสร้าง หรือ รูปเคารพในศาสนาพุทธขึ้น ได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ ใบเสมา เป็นต้น
แหล่งวัฒนธรรมทวารวดีในสุรินทร์
          วัฒนธรรมทวารวดี  ประมาณพุทธศตวรรษที่  12-16 หรือราว 1,000-1,400  ปีมาแล้ว
 ในภาคอีสานตอนล่าง   ชุมชนในวัฒนธรรมทวารวดี มีอายุเดียวกับชุมชน ในจังหวัดต่างๆ บริเวณลุ่มแม่น้ำมูล เช่น เมืองเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เมืองโบราณบ้านฝ้าย อำเภอหนองหงส์ เมืองโบราณบ้านประเคียบ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เมืองคงโคก อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ชุมชนโบราณบ้านไผ่ใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี (กรมศิลปากร, 2532 : 114 - 116 ) เป็นต้น
          ลักษณะชุมชนวัฒนธรรมทวารวดีที่พบในจังหวัดสุรินทร์มักจะมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ มีโบราณวัตถุเนื่องในพุทธศาสนา เช่น ใบเสมา พระพุทธรูป  พระพิมพ์ เป็นต้น
        ชุมชนโบราณบ้านตรึม ตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ บริเวณบ้านตรึม มีลักษณะเป็นชุมชนที่มีคูน้ำล้อมรอบ ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน มีหนองน้ำขนาดใหญ่ เรียกว่า หนองสิม  ภายในวัดตรึม  เป็นเนินดินมีใบเสมาปักอยู่ 16 ใบ  ลักษณะเป็นแบบแผ่นรูปกลีบบัว ทำด้วยศิลาแลงและหินบะชอลต์ ใบเสมาทุกใบจะมีลักษณะของการตกแต่งที่เหมือนกัน นั่นคือ แกะสลักเป็นรูปหม้อน้ำ อยู่ตรงกลางใบทั้งสองด้าน ยอดเป็นกรวยแหลมบรรจบกับส่วนบนของใบเสมาพอดี ขอบใบเสมาแกะเป็นเส้นตรงโค้งไปตามขอบ ทำให้ดูเหมือนว่าผิวหน้าทั้งสองด้านของใบเสมายื่นออกมา  ปัจจุบันทางวัดได้สร้างอาคารคลุมใบเสมาและเนินดินไว้
        ชุมชนโบราณบ้านไพรขลา ตำบลไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์  เป็นชุมชนที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ พบใบเสมา  ที่โนนสิมมาใหญ่ และโนนสิมมาน้อย
          โนนสิมมาใหญ่
          อยู่ภายในหมู่บ้านทางทิศใต้  มีกลุ่มใบเสมาจำนวนมาก  ปักอยู่ในตำแหน่งทิศทั้งแปดบางส่วนถูกเคลื่อนย้าย   มาเก็บรวมกันไว้ในอาคารขนาดเล็ก ใบเสมาทั้งหมดทำจากศิลาแลง เป็นแผ่นรูปกลีบบัว ตรงกลางใบเป็นรูปหม้อน้ำมียอดเป็นรูปกรวยแหลม  หรือเป็นสันขึ้นมาทั้งสองด้าน ลักษณะการตกแต่งเหมือนกับใบเสมาที่บ้านตรึม
          โนนสิมมาน้อย
          อยู่ทางทิศตะวันตกภายในหมู่บ้าน  บริเวณนี้พบใบเสมาจำนวนเล็กน้อยอยู่รวมกันเพียงจุดเดียว  ใบเสมาบางใบน่าจะปักอยู่ในตำแหน่งเดิม  โดยมีการย้ายใบเสมาใบอื่น ๆ มาวางรวมกันไว้  ลักษณะของใบเสมาเหมือนกับใบเสมาที่โนนสิมมาใหญ่  เป็นใบเสมาแบบแผ่นรูปกลีบบัว ตรงกลางใบทำเป็นสันทั้งสองด้าน ทั้งหมดทำจากศิลาแลง
          ใบเสมาที่พบสันนิษฐานว่าปักไว้เพื่อกำหนดเขตศักดิ์สิทธิ์  เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในสมัยนั้น
วัฒนธรรมขอมโบราณในสุรินทร์



          จังหวัดสุรินทร์ด้านทิศใต้ติดต่อกับประเทศกัมพูชา  มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นเขตแดน   มีการเดินทางติดต่อกันมาแต่โบราณผ่านทางช่องเขา เช่น ช่องจอม อ.กาบเชิง ช่องตาเมือน อ.พนมดงรัก เป็นต้น  ทำให้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกันมาตลอด  โดยเฉพาะในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-18   โดยศึกษาจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบดังนี้


           ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 ตรงกับรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ แห่งอาณาจักรขอมโบราณ    จังหวัดสุรินทร์มีการสร้างปราสาทภูมิโพน ที่ ต.ดม อ.สังขะ เป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ในศาสนาฮินดูศิลปะขอมโบราณสมัยไพรกเมง (สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ ,2532)ประกอบด้วยปราสาทอิฐ  หลัง และฐานอาคารก่อด้วยศิลาแลง หลัง    พบชิ้นส่วนจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต   ชิ้น  ซึ่งมีใช้ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13  ทับหลังรูปสัตว์ครึ่งสิงห์ครึ่งนก ประกอบวงโค้งที่มีวงกลมรูปไข่  ศิลปะขอมโบราณแบบไพรกเมง จำนวน แผ่น  
          บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากปราสาท  500 เมตร มีหนองปรือซึ่งเป็นบารายขนาดใหญ่ แบบวัฒนธรรมขอมโบราณ  รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 300X500 เมตร อยู่ แห่ง
          ราวกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 15 (ประมาณ 1,100 ปีมาแล้วในเขตจังหวัดสุรินทร์  มีชุมชนวัฒนธรรมเขมรโบราณที่สำคัญอีก แห่ง   คือ ชุมชนปราสาทหมื่นชัย บ้านถนน และชุมชนปราสาทบ้านจารย์  ต.บ้านจารย์  อ.สังขะ   
          ปราสาทบ้านจารย์  เป็นปราสาทศิลปะขอมโบราณสมัยเกาะแกร์ ราวกลาง-ปลายพุทธศตวรรษที่ 15  เป็นปราสาทองค์เดียว ก่อด้วยอิฐ มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ  ปัจจุบันตัวปราสาทมีสภาพหักพังเหลือเพียงส่วนเรือนธาตุ  บนตัวปราสาทมีทับหลังขนาดใหญ่สลักรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
                   ปราสาทหมื่นชัย  เป็นปราสาทองค์เดียว ก่อด้วยอิฐ มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ  ปัจจุบันตัวปราสาทมีสภาพหักพังเหลือเพียงส่วนเรือนธาตุ
        ปราสาทตาเมือนธม  บ้านหนองคันนา ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์    เป็นปราสาทขนาดใหญ่ ก่อด้วยหินทราย และศิลาแลง
          ปราสาททนง  บ้านปราสาท ต.ปราสาททนง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดเล็ก ก่อด้วยอิฐ หินทราย และศิลาแลง  ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบไปด้วยสองส่วน  คือ พลับพลาและปราสาทประธาน
          ปราสาทบ้านไพล  บ้านปราสาท ต.เชื้อเพลิง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์  เป็นปราสาทอิฐ องค์ มีขนาดเท่ากันตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก  มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ  
        ต่อมาในช่วงอารยธรรมขอมในประเทศกัมพูชาได้เจริญถึงขีดสุดราวพุทธศตวรรษที่  16 – 18 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย  พบปราสาทหินและเมืองโบราณรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบขอม  เป็นจำนวนมาก ได้แก่ เมืองพิมาย อันมีปราสาทพิมายเป็นศูนย์กลางของเมือง  ตัวเมืองมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่  เป็นต้น  ช่วงระยะเวลานี้มีหลักฐานว่าเมืองสุรินทร์ได้รับอิทธิพลอารยธรรมของขอมโบราณอย่างมากเช่นกัน มีการปรับแผนผังเมืองให้ใหญ่ขึ้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบขอมโบราณมีคูน้ำ  2  ชั้น  คันดิน  1  ชั้น  ล้อมรอบ  ขนาดกว้าง  1,500  เมตร  ยาว  2,500  เมตร  ล้อมรอบตัวเมืองเดิมรูปวงรีในสมัยก่อนหน้านั้นไว้ภายในอีกชั้นหนึ่ง ส่วนพื้นที่อำเภอต่างๆ พบปราสาทขอมโบราณอีกหลายแห่ง 



        ในช่วงหลังของพุทธศตวรรษที่ 18 อารยธรรมขอมโบราณเสื่อมลง  เมืองสุรินทร์น่าจะเป็นบ้านเมืองสืบมาจนถึงในราวสมัยอยุธยาตอนปลายราวต้นพุทธศตวรรษที่  24  สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์  พระมหากษัตริย์ แห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา  โปรดเกล้าฯ ให้ยกชุมชนหลายแห่งในจังหวัดสุรินทร์เป็นเมือง  ตัวเมืองสุรินทร์ในขณะนั้นเรียกว่า  “ บ้านคูประทายสมัน “  จึงโปรดให้ยกขึ้นเป็นเมืองคูประทายสมัน มีพระสุรินทร์ภักดีเป็นเจ้าเมือง  ทำราชการขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย 


        สมัยกรุงธนบุรี  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  โปรดเกล้าฯ ยกฐานะเจ้าเมืองคูประทายสมันขึ้นเป็นพระยา นามว่า พระยาสุรินทร์ภักดี ปกครองเมืองคูประทายสมัน ขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย
        สมัยรัตนโกสินทร์  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  โปรดเกล้าฯ ให้เมืองในบริเวณนี้หลายเมือง ได้แก่ เมืองคูประทายสมัน เมืองขุขันธ์  และเมืองสังฆะ อันเป็นเมืองที่มีความชอบในราชการสงคราม  ทำราชการขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ พร้อมกับโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองคูประทายสมัน  เป็นเมืองสุรินทร์  ตามชื่อเจ้าเมืองในคราวเดียวกัน ต่อมาเปลี่ยนเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองสืบต่อมาถึงปัจจุบัน